‘สันติ เจริญพรพัฒนา’ ภารกิจของ สทร. กับความท้าทายบนเส้นทางการวิจัยและพัฒนา ‘ระบบรางไทย’

ภาพจำที่ประชาชนทั่วไปมอง รถไฟไทย และ ระบบรางไทย คงหนีไม่พ้นขบวนรถไฟที่เก่าแก่ที่ให้บริการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน แต่ถึงอย่างไร ทัศนคติต่อ รถไฟไทย ก็ยังคงเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยแม้จะต้องใช้เวลานานกว่าการเดินทางโดยวิธีอื่น ส่วนการขนส่งในเมืองหลวง อย่าง กรุงเทพมหานคร ก็มีการพัฒนาเชื่อมต่อกันทางระบบบรางทั้งด้วย รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน ทำให้ผู้คนสะดวกสบาย ผ่อนคลายจากปัญหาการจราจรติดขัดได้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี การขนส่งระบบราง ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อขนส่งคนเท่านั้น ทว่า ในหลายประเทศทั่วโลก ต่างอาศัยการขนส่งทางรางเป็นการลำเลียงสินค้า ผลิตภัณฑ์ ไปยังที่ต่างๆ ทั้งในและขนส่งออกนอกประเทศด้วย เพราะการขนส่งสินค้าโดยรถไฟสามารถขนส่งได้ในปริมาณมากกว่าการขนส่งโดยวิธีอื่นนั่นเอง

การพัฒนาการขนส่งระบบราง จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ  โดยในแผนการพัฒนาการขนส่งระบบรางของประเทศ ได้ยกประเทศจีน และเกาหลีใต้  ที่มีการลงทุนพัฒนาการขนส่งระบบรางไปก่อนหน้าไทยและได้ดำเนินการพัฒนาระบบรางสู่ความยั่งยืนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่ไทยควรดำเนินรอยตาม โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีระบบรางที่เป็นของเราเอง เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง จะทำให้การพัฒนาระบบรางที่อยู่ระหว่างกำลังดำเนินการ และจะขยายไปอีกอนาคตเกิดความยั่งยืนได้

จากความสำคัญที่กล่าวมานี้เอง ทำให้เกิดการจัดตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (สทร.) ในปี 2564 โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญในการยกระดับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ระบบรางไทย ซึ่งในการพิชิตภารกิจสำคัญนี้ได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหาร ของ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง

ในวันนี้ผู้บริหารคนสำคัญ สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการ สทร. จะได้มาบอกเล่าให้ฟังถึงภารกิจของ สทร. ในทุกมิติ รวมถึงจะแชร์ให้ฟังว่า อดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตของการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบรางไทย เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ต่อจากนี้ไป

Details of the interview here

เผยแพร่ลงเว็บไซต์ 13 มีนาคม 2566

Follow me!