พิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
พิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ในวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผศ.ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ภายในประเทศ รวมทั้งความร่วมมือเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศูนย์การทดสอบคุณภาพและมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานในระบบราง รวมทั้งการเชื่อมโยงไปสู่องค์กรเครือข่ายที่มีระบบทดสอบคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีส่วนร่วมในความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบราง เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ภายในประเทศ รวมทั้งความร่วมมือเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางระหว่างหน่วยงาน
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรอบและวิธีการทำงาน เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ รวมถึงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาศักยภาพและทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รศ.ดร.โชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบราง เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ภายในประเทศ อีกทั้งเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรอบและวิธีการทำงาน เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (Local Content) และเพื่อการพัฒนาศักยภาพและทักษะของบุคลากรจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สานักบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางโดยเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบรางที่มีความรู้ความสามารทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีระบบราง ด้านการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และด้านการพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรม ด้วยองค์ความรู้ ประสบการณ์ และโครงสร้างพื้นฐานที่มีในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบรางของประเทศ